วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14 ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger

ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger


เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานในหน้าที่การเรียนการสอน โดยเฉพาะการบริหารงานโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของบุคลากรในโรงเรียน และยังสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะในการใช้และเรียนรู้คอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย เมื่อประเมินแล้วพบว่าการสร้างบล็อคมีส่วนดีดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow

1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot

2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow

3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow

4. gotoknow เมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 13

โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา


กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

ภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553

การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย สำหรับโรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร 042-411051 www.anubannk.org

ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย

1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา

2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย

5. โรงเรียนวิถีพุทธ

6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ

7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย

ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

การศึกษาดูงานประเทศลาว ได้มีโอกาสเข้าสู่ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทยวิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่าย คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ ชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้น

การศึกษาที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าพักบ้านพักและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

สำหรับความคาดหวังในผลการเรียนขอ B  เพราะไม่ค่อยได้เข้าเรียนเพราะต้องเดินทางไกลแต่ก็มีความตั้งใจเรียน ตลอดจนได้นำความรู้ที่อาจารย์ได้สั่งสอนนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window

ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์

Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน

Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร

Ø Cases ชุดของตัวแปร

Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร

Ø View Bar มีสองส่วน

1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร

2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร

Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน


การเปิด SPSS Data Editor

ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable Viewป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save
การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ

1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก

2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่างเมื่อได้หน้าต่างของ Variable View

1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex

2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK

3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ

4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร

5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ

    5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …

    5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง

6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)

7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา

8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล

   8.1 Scale (Interval, Ratio)

  8.2 Ordinal

  8.3 Nominal

ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies

2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร

4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics

5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics

6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue

7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11

แสดงความรู้สึกความคิดเห็นที่ได้เรียนกับอาจารย์ เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงในการเรียนการสอนในโอกาสต่อไป
  
 ศิษย์ซาบศิษย์ถึงคุณ การุญสอนสั่งหนังสือ จนศิษย์รุ่งเรืองเลื่องลือ ยกย่องครูคืออาจารย์



 

ใบงานที่ 10

ประวัติ
   สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ระดับการศึกษา
   ประถมศึกษา โรงเรียนวัดแม่เปียะ
   มัธยมศึกษาตอนต้น หาดใหญ่วิทยาลัย
   มัธยมศึกษาตอนปลาย ธรรมโฆษิต
   อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ป.ตรี
                      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ป.โท
                      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ป.บัณฑิต
สถานที่ทำงาน
   โรงเรียนบ้านร่าปู อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
    ตำแหน่ง ครู

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 9

ให้นักเรียนสรุปคุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบันนักศึกษาคิดว่าน่าจะไปอย่างไร ขอให้เขียนตอบลงใน Webboard แต่ละคน
นักบริหารมืออาชีพต้องมีคุณลักษณะภายในตนที่สามารถปลูกฝังและฝึก

   1) มีวิสัยทัศน์ มีสายตาที่ยาวไกล ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
   2) ตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างสูงสุด
   3) ทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จมากกว่ามุ่งกระบวนการ
   4) มองปัญหาชัดใช้ปัญญาในการการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ
   5) เป็นผู้มีศิลปในการประนีประนอม
   6) การทำงานเป็นทีม
   7) ซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม

ใบงานที่ 8

ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
          สถิติ หมายถึง หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบ
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
          ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของค่าสังเกตหรือค่าของตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจทุกค่าของข้อมูล แล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูล
          ค่ามัธยฐาน  เป็นค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาตำแหน่งของข้อมูลที่อยู่ตรงกลางโดยที่ข้อมูลต้องทำการเรียงลำดับตามปริมาณจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากก็ได้
          ค่าฐานนิยม (Mode )ค่าฐานนิยมเป็นค่ากลางซึ่งจะนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลมีการซ้ำกันมากๆจนผิดปกติ ซึ่งค่าฐานนิยมจะเป็นค่ากลางหรือตัวแทนของข้อมูลที่สามารถอธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่ามัธยฐาน
         ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: s.d.)  เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่มข้อมูล สามารถนำไปใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม ประชากร หรือมัลติเซต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วยอักษรกรีกซิกมาตัวเล็ก (σ)
        ทั้งหมดเป็นสถิติ สถิติพรรณา
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
       ประชากร(Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ
       กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม(Sample)หมายถึง เป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดีหมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างๆที่สำคัญครบถ้วนเหมือนกับกลุ่มประชากร เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรได้
        ประชากร คือ จำนวนทั้งหมด   กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากร เช่น
              ประชากร   จำนวนครูในโรงเรียนทั้งหมด 10 คน
              กลุ่มตัวอย่าง จำนวนครูในโรงเรียนทีเลือกมาบางส่วนจาก 10 คน
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ
        มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ลักษณะเด่นของมาตรานี้คือ เป็นตัวแปรที่ถูกจัดเป็นกลุ่มๆ โดยที่ตัวแปรนี้ไม่สามารถจัดลำดับก่อนหลัง หรือบอกระยะห่างได้ เช่น เพศ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือเพศชาย และเพศหญิง
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร
        ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถแปรค่าได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสติปัญญา เชื้อชาติ เป็นต้น6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

         ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
         ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด

        สมมุติฐาน คือ จุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้า และเป็นข้อความที่เสนอคำตอบที่คาดคิดว่าน่าจะเป็นสำหรับปัญหาการวิจัยที่กำหนดศึกษา
       ประเภทของสมมุติฐานการวิจัย
           1.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่คำนึงมีการทดสอบทางสถิติ
           2.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร
          โดยทฤษฏี t- test ใช้เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ( n < 30 )แต่ในทางปฏิบัติ t- test ใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใดก็ได้ ขอเพียงแต่ให้ประชากรของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมามีการแจกแจงปกติ หรือเข้าใกล้การแจกแจงปกติ ( Weiss. 1995 :537 )
           ถ้า ให้ทดสอบด้วย F - test ถ้าค่า F - test ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ให้ใช้ poolet t –test แต่ถ้ามีนัยสำคัญทางสถิติตามระดับที่ตั้งไว้ ให้ใช้ Nonpooled t – test